วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

งานสัปดาห์ที่ 6



ออกภาดสนามรวบรวมแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ด้วยสื่อสังคมออนไลน์ และนิทรรศการ



ชื่อกลุ่ม Nature

สมาชิก
1.52041257 MISS YUN HUANG
2.52041258 MISS JUN TAO LU
3.53040526 นางสาวอมรรัตน์ อิ่มสมบัติ
4.53040884 นางสาวเดือนเพ็ญ เยติ๊บ
5.53040904 นางสาวศิริลักษณ์ ธรรมศิริ
6.53041263 นางสาวกันต์ฤทัย รัชตปวุฒิ

แหล่งทรัพยกรการเรียนรู้ ที่ศึกษา 2 แหล่ง คือ


1.สวนเสือศรีราชา จัดเป็นแหล่งทรัพยากรประเภทสถานที่







2.ข้าวหลามแม่นิยม จัดเป็นแหล่งทรัพยากรประเภทบุคคล







การนำเสนอ

- สวนเสือศรีราชา ใช้การนำเสนอเป็นในรูปแบบของรายการวีดิทัศน์นำชมแต่ละจุด
- ข้าวหลามแม่นิยม ใช้การนำเสนอผ่านสื่อ CAI

การประชุมครั้งหน้า

- สืบค้นข้อมูลทั้ง 2 แหล่ง คือ สวนเสือศรีราชา และข้าวหลามแม่นิยม
- วางแผนการดำเนินงานก่อนลงสถานที่จริง
- แบ่งหน้าที่ในการทำงานให้กับสมาชิกในกลุ่ม

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การศึกษานอกสถานที่

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี


การจัดเเสดง แบ่งเป็น 2 ชั้น

ชั้นล่างเป็นส่วนที่เรียกว่า "สถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม"

               เป็นส่วนที่จัดแสดงเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและความเป็นอยู่ของสัตว์ทะเลชนิดต่างๆที่อาศัยอยู่ในเขตน่านน้ำของไทย  โดยทรัพยากรที่ใช้ในการให้ความรู้คือสิ่งมีชีวิตในทะเลชนิดต่างๆทั้งพืชและสัตว์ที่ยังมีชีวิต โดยสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะถูกเลี้ยงในระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิดที่มีระบบยังชีพสำหรับให้สิ่งมีชีวิตต่างๆเหล่านี้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ในแต่ละตู้มีการจัดสภาพให้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด แต่ละตู้จะมีป้ายเพื่อบ่งบอกชนิดสัตว์ทะเลที่อยู่ในตู้ทั้งชื่อสามัญและชื่อทางวิทยาศาสตร์ โดยหัวข้อต่างๆที่ให้ความรู้สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 หัวข้อใหญ่ ดังแสดงในแผนผังการจัดแสดงในสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม ได้แก่
               สำหรับส่วนที่จัดแสดงไว้ในสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล บางแสนนี้ เป็นบริเวณเขตน้ำขึ้น-น้ำลง บริเวณที่เป็นหาดหิน และมีน้ำขังอยู่ตามแอ่งหิน ซึ่งลักษณะเช่นนี้เรียกกันทั่วไปว่า "แอ่งน้ำขึ้น-น้ำลง" (Tidal Pool) ตามธรรมชาติตามแอ่งน้ำขึ้น-น้ำลงเช่นนี้จะพบ กุ้ง ลูกปลาบางชนิด หอยนางรม ปูเสฉวน เม่นทะเล ดอกไม้ทะเล ดาวทะเล ฯลฯ

http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/aq/R0011548.JPG

2. ปลาในแนวปะการัง 
บริเวณแนวปะการังนับเป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของทะเล สัตว์ทะเลหลายชนิดอาศัยบริเวณนี้เป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่หลบซ่อนภัยและเป็นแหล่งอาหาร นอกจากนี้แล้ว ยังใช้เป็นที่สำหรับผสมพันธุ์ วางไข่ และเจริญเติบโตของสัตว์ตัวอ่อนอีกด้วย สำหรับปลาที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ส่วนใหญ่ จะเป็นปลาที่มีขนาดเล็กและมีสีสันสวย งาม เช่น ปลาสลิด ปลาการ์ตูน ปลาผีเสื้อ เป็นต้น  

 http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/aq/R0011551.JPG

3. การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต จัดแสดงเกี่ยบกับการดำรงชีวิตอยู่รวมกัน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันของปลาการ์ตูนกับดอกไม้ทะเล โดยที่ปลา เหล่านี้จะอาศัยดอกไม้ทะเลเป็นที่หลบภัยและสืบพันธุ์ ส่วนดอกไม้ทะเลจะได้รับ ประโยชน์จากปลาโดยการล่อเหยื่อหรือชักนำเหยื่อมาให้ เนื่องจากเข็มพิษของดอกไม้ทะเลไม่เป็นอันตรายต่อปลาการ์ตูน เพราะปลาดัง กล่าวมีสารเคมีที่มีลักษณะเป็นเมือกหุ้ม ตัวอยู่โดยรอบ ซึ่งเป็นลักษณะที่ธรรมชาติสรรค์ สร้างให้มันอาศัยอยู่ร่วมกัน โดยทั่ว ๆ ไปดอกไม้ ทะเลอาจไม่มีพิษกับคน ยกเว้นในกรณีของ บางคนอาจมีอาการแพ้เกิดขึ้นถ้าไป สัมผัสเข้า โดยจะเกิดผื่นแดง และมีอาการคันหรือ บวมได้ 
   4. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังน้ำเค็ม เป็นสัตว์โครงร่างแข็งที่ไม่ใช่กระดูกอยู่ภายในลำตัว และบางชนิดมีเปลือกแข็งหุ้มอยู่ภายนอก เพื่อป้องกันอันตราย และใช้ยึดของกล้ามเนื้อ เช่น หอย หมึก กุ้ง สัตว์จำพวกนี้ มีลักษณะแตกต่างกันออกไปทั้งขนาด รูปร่าง ที่ อยู่อาศัย และอุปนิสัยในการกินอาหาร บางชนิดมี อันตราย แต่หลายชนิดก็มีประโยชน์ และมีความสำคัญ ทางเศรษฐกิจ สัตว์เหล่านี้ ได้แก่ สัตว์ในไฟลั่ม โพริเฟอร์รา (Phylum Porifera) ไฟลั่มซีเลนเท อราต้า (Phylum Coelenterata) ไฟลั่มมอลลัสกา (Phylum Mollusca) เป็นต้น

http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/aq/R0011561.JPG

5. ปลาเศรษฐกิจ ในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนเป็นบริเวณที่ค่อนข้างมีปลาชุกชุม และปลาหลายชนิดเป็นปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เกี่ยวกับประเภทของปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ 

1. พวกที่นำมาเป็นอาหาร ส่วนมากเป็นปลาที่พบเห็นโดยทั่วไป และชาวประมงจับขึ้นมาเป็นส่วนใหญ่ เช่น ปลากะรัง หรือที่เรียกกันว่า "ปลาเก๋า" นอกจากนี้ก็มีปลากะพง ชนิดต่าง ๆ ปลาอีคุด ปลาสีขน เป็นต้น

2. พวกที่นำมาเลี้ยงเพื่อความสวยงาม ส่วนมากเป็นที่อาศัยอยู่ในบริเวณปะการัง ได้แก่ ปลาสลิดทะเล ปลานกแก้ว ปลานกขุนทอง ปลาเหล่านี้มีราคาค่อนข้างแพง เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ฉะนั้นเราจึงจัดปลาสวยงามเหล่านี้ไว้ในกลุ่มปลาเศรษฐกิจด้วย 


 http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/aq/R0011572.JPG 

6. ปลารูปร่างแปลกและปลามีพิษ ปลาบางชนิดมีรูปร่างแปลก โดยมีรูปร่างหรือสีกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เพื่อหลบหลีกศัตรูหรือพรางตาเหยื่อ ปลาบางจำพวกนอกจากมีรูปร่างแปลกแล้ว ยังมีสีสันสวยงามและมีพิษด้วย เช่น ปลากระเบน ปลาไหลทะเล ปลาปักเป้า เป็นต้น


http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/aq/R0011580.JPG 

7. ปลาที่อาศัยในมหาสมุทร ในทะเลและมหาสมุทรมีขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ปลาที่มีขนาดเล็กรวมทั้งพวกที่มีสีสันสวยงามหลายพวก มักจะอาศัยอยู่ใกล้ฝั่งหรืออยู่ในที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ 

ชั้นบนเป็นส่วนที่เรียนว่า "พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล"

                ส่วนแรก จัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เกี่ยวกับพระราชกรณีกิจทางด้านการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และด้านวิทยาศาสตร์การประมง

http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012760.JPG http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012766.JPG http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012768.JPG


ส่วนที่สอง จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่องราวของทะเล ระบบนิเวศ และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล รวมทั้งความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ โดยแบ่งเป็น 4 ส่วนได้แก่

1.     นิทรรศการเรื่องราวของอาณาจักรของสิ่งมีชีวิตในทะเล  โดยให้ความรู้ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆที่อาศัยอยู่ในทะเล สัตว์ที่มีโพรงลำตัว สัตว์จำพวกหนอนทะเล สัตว์จำพวกหอย สัตว์ที่มีข้อปล้องในทะเล สัตว์จำพวกคอร์เดทในทะเล และสัตว์ทะเลที่มีกระดูกสันหลังชนิดต่างๆ รวมทั้งเรื่องราวของทะเล และสิ่งมีชีวิตในทะเลยุคดึกดำบรรพ์ 

http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012769.JPG http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012772.JPG http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012839.JPG
http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012830.JPG http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012814.JPG http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012820.JPG

2.     นิทรรศการเรื่องราวของทะเล และระบบนิเวศในทะเล ในส่วนนี้จะกล่าวถึงการแบ่งเขตของทะเล และระบบนิเวศต่างๆในทะเล รวมทั้งพืช และสัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ในแต่ละระบบนิเวศ โดยเริ่มตั้งแต่ ระบบนิเวศของป่าชายเลน ระบบนิเวศหาดหิน ระบบนิเวศหาดทราย และหาดโคลน ระบบนิเวศแนวปะการัง เป็นต้น 
http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012770.JPG http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012771.JPG

3.     นิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์  เป็นส่วนที่จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ เช่น เป็นแหล่งทำการประมงโดยใช้เครื่องมือประมงทะเล เช่น โป๊ะ และเรือประมงทะเลชนิดต่างๆ เป็นเส้นทางค้าขาย และเดินทางติดต่อกันของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 
http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012843.JPG http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012848.JPG http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012849.JPG

4.     ห้องพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย และวิวัฒนาการของหอย ในห้องนี้จะจัดแสดงเกี่ยวกับเปลือกหอยที่พบในทะเลกลุ่มต่างๆ รวมทั้งนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับหอยแต่ละกลุ่ม วิวัฒนาการของหอยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และการแบ่งกลุ่มของหอยที่มีอยู่ในโลก
http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012857.JPG http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012860.JPG http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012861.JPG




หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี


การจัดแสดงแบ่งออกเป็น 11 ส่วน ได้แก่

1.  เยืยนถิ่นบูรพาวันนี้
               ได้นำเสนอลักษณะกายภาพของพื้นที่ และภาพรวมของภาคตะวันออกในปัจจุบัน ทั้งสภาพความเป็นอยู่ และวิถีทำกินของชุมชน

2.  ตามรอยอารยธรรมแห่งบูรพทิศ
              ได้นำเสนอการพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่และชุมชนในภาคตะวันออก มีความหมายสืบและรัตนโกสินทร์เนื่องทางวัฒนธรรม มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทราวดี เขมรโบราณ สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี

3.  แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคตะวันออก
              ได้นำเสนอแหล่งโปราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งมีความสำคัญในฐานะที่แสดง ถึงหลักฐานการตั้งถิ่นฐาน ของชุมชนโบราณบริเวณริมฝั่งทะเล ที่สะท้อนภาพชีวิตความเป็นอยู่ และวิถีวัฒนธรรมที่น่าสนใจ

4.  แหล่งโบราณคดีหนองโน จังหวัดชลบุรี
              ได้นำเสนอเรื่องราวของแหล่งโบราณคดีที่มีการพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณ ที่มีอายุถึง ๔๕๐๐-๔๐๐๐ ปี นับเป็นชุมชนฝั่งทะเลสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

5.  แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี จังหวัดชลบุรี
              ได้นำเสนอเรื่องราวของโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุ ๔๕๐๐  ๔๐๐๐ ปี มาแล้วซึ่งพึ่งพาอาหารจากทะเลเป็นหลัก และมีการอยู่อาศัยต่อเนื่องยาวนานกว่า ๔๐๐ ปี

6.  เมืองโบราณที่สำคัญในประวัติศ่สตร์บนดินแดนบูรพทิศ
              ได้นำเสนอเรื่องราวของเมืองโบราณสำคัญได้แก่ เมืองเพนียด จังหวัดจันทบุรี เมืองพระรถ จังหวัดชลบุรี เมืองศรีพโล จังหวัดชลบุรี เมืองพญาแร่ จังหวัดชลบุรี

7.  วิธีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมบนแผ่นดินภาคตะวันออกในยุคประวัติศาสตร์ก่อนสยามประเทศ
              ได้นำเสนอเรื่องราวของวัฒนธรรมภายนอกทั้งจากอินเดีย เขมรโบราณ และดินแดนโพ้นทะเลที่เข้ามามีอิทธิพล บนแผ่นดินภาคตะวันออก และยังปรานกฎร่องรอยหลักฐานจวบจนปัจจุบัน

8.  อิทธิพลความเชื่อและศาสนาในเมืองโบราณศรีมโหสถ
              ได้นำเสนอเรื่องราวของอิทธิพลความเชื่อและศาสนาหลากหลายวัฒนธรรมทั้งพุทธ พราหมณ์ อินดู ที่เข้ามามีบทบาทในเมืองซรีมโหสถ วึ่งปรากฏเป็นหลักฐานโบราณสถานและโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก

9.  เมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี บนแผ่นดินภาคตะวันออก
              ได้รำเสนอเรื่องราวของเมืองศรีมโหสถ เมืองโบราณสำคัญในสมัยวัฒนธรรม ทราวดี ซึ่งมีพัฒนาการมาจาก สถานีการค้าสำคัญที่มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชน มาตั่งตาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ถึงสมัยทราวดี

10.  ชนต่างวัฒนธรรมในชุมชนภาคตะวันออก
              ได้นำเสนอกลุ่มชาติพันธุ์สำคัญที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บนแผ่นดินภาคตะวันออก ได้แก่ คนชอง คนจีน คนญวน คนลาว และคนไทยมุสลิม

11.  ภาพจิตรกรรมฝาผนัง งานศิลปะอันทรงคุณค่า
              ได้นำเสนอภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวัดริมฝั่งทะเลภาคตะวันออกซึ่งเป็นงานศิลปะอันทรงคุณค่า มีเอกลักษณ์ของงานฝีมือช่างท้องถิ่น และสะท้อนถึงภาพสังคม วัฒนธรรมความเชื่อของชุมชน

 
 
 


 
 
 




วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แหล่งการเรียนรู้ประเภทบุคคล


พ่อมหาอยู่ สุนทรธัย (เกษตรผสมผสาน)



               ช่วงทศวรรษ 2520 ในขณะที่หลายฝ่ายต่างกำลังมองหาแนวทางเกษตร ที่น่าจะสามารถแก้ปัญหา อันสั่งสมมาจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยวที่เน้นแค่ผลผลิต เพื่อการค้า คนทำงานในองค์กรพัฒนาเอกชนทางภาคอีสานก็ได้พบกับ "มหาอยู่ สุนทรธัย" ชาวนาสามัญชนผู้หนึ่ง ซึ่งมีแนวทางการทำเกษตรของตนเองที่น่าสนใจโดยขนานนามแนวทางเกษตรแบบนี้ว่า เกษตรผสมผสานนั่นคือการทำหลายอย่างในพื้นที่เดียวกัน ไม่ได้ปลูกพืชเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเลี้ยงสัตว์อย่างหนึ่งอย่างใด เหมือนที่เกษตรกระแสหลักกำลังแห่ทำกันไปตามนโยบายส่งเสริมการเกษตรของภาครัฐในขณะนั้น
               นอกจากที่นาปลูกข้าว บนพื้นที่ทำกินจำนวนประมาณ 60 ไร่ของมหาอยู่หลากหลายไปด้วยต้นไม้ต้นไร่ ตั้งแต่ระดับเรี่ยดินไล่ไปจนสูงแหงนคอตั้งบ่า มีทั้งพืชตระกูลถั่วเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน พืชผักสวนครัวอย่างพริกข่า ตะไคร้ มะกรูด มะนาว กะเพรา โหระพา แมงลัก ไม้ผลจำพวกกล้วย มะละกอ น้อยหน่า ขนุน มะพร้าว ฯลฯ หรือไม้ยืนต้นอื่นๆ เพื่อนำเนื้อไม้มาใช้สอย เช่น สะเดา สัก ไผ่ เหล่านี้ เป็นต้น แล้วยังเลี้ยงประดาสัตว์น้อยใหญ่ วัว หมู เป็ด ไก่ ปลา เพื่อเอื้อประโยชน์กันและกัน
               มหาอยู่วางแผนการทำเกษตรไปพร้อมกับมองถึงระบบการขายผลผลิตด้วย เพราะยังอยู่ในยุคที่เกษตรกรมิอาจหลีกเลี่ยงการขายผลผลิตเพื่อนำเงินมาใช้สอยสิ่งของจำเป็น โดยเฉพาะชาวบ้านเกษตรกรที่มีลูกต้องเลี้ยงดูส่งเสียร่ำเรียนหนังสือ ครั้นคิดถึงการตลาด บทเรียนของเกษตรกรที่ไม่สามารถกำหนดราคาผลผลิตเองได้ ทำให้มหาอยู่คำนึงว่าทางออกคือเกษตรกร ต้องเป็นผู้ขายเองโดยไม่ผ่านผู้ค้าคนกลาง และการปลูกพืชหลายอย่างก็เป็นทางหนึ่งที่จะช่วยพยุงวิถีชีวิต ให้มีทางเลือก ยกตัวอย่างว่าหากปีนั้นข้าวราคาไม่ดีก็ยังมีเป็ดไก่ได้ขายไข่และยังได้ปุ๋ยใส่ต้นไม้ หรือเลี้ยงหมูเอาไว้ก็ได้ขายหากจำเป็น ทั้งยังได้ขี้หมูให้ปลากิน เรียกว่ามีแต่ได้ไม่มีเสีย เพราะข้าวที่เหลือก็เผื่อถึงหมู เป็ด ไก่ มูลสัตว์เหล่านี้ให้ปลา ปลาก็เอื้อกลับคืนเป็นอาหารและเป็นรายได้อีกที ปลาเป็นผู้ให้สุดท้ายโดยมีมูลเป็นตัวเชื่อมหมุนเวียนกันไปอย่างนี้ไม่สิ้นสุด หลักคิดนี้เกษตรกรอื่นๆสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมและวิถีวัฒนธรรมของตนเองได้ต่อไป
               ลักษณะการทำเกษตรและแนวคิดของมหาอยู่ ในช่วงเวลานั้นถือได้ว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับเกษตรกรรมทางภาคอีสานเลยทีเดียว ซึ่งหลังจากมีการเผยแพร่แนวทางเกษตรผสมผสานของมหาอยู่ออกสู่วงกว้าง ก็ปรากฏว่ามีชาวบ้านให้ความสนใจและกลับไปปรับเปลี่ยนการทำเกษตรของตัวเองกันไม่น้อย จึงพอจะกล่าวได้ว่า มหาอยู่ สุนทรธัช เป็นผู้บุกเบิกเกษตรผสมผสานแห่งภาคอีสาน
               ก่อนที่มหาอยู่จะพบทางสายเกษตรของตนเอง ได้ผ่านการทำเกษตรตามแนวทางของพ่อแม่มาก่อน คือเกษตรแบบชาวบ้านอีสานทั่วไป ทำแค่พออยู่พอกินและไม่มีการจัดการอะไรมากนัก บางฤดูที่ฝนขาดช่วง พื้นดินภาคอีสานที่ไม่ใคร่อุ้มน้ำอยู่แล้วจึงยิ่งแห้งแล้ง ผลผลิตที่ได้ไม่ค่อยเต็มเม็ดเต็มหน่วย มหาอยู่ เล็งเห็นความยากลำบากของการทำเกษตรโดยไม่มีแหล่งน้ำของตนเอง จึงคิดหาวิธีให้มีน้ำอยู่ในพื้นที่ทำกินของตัวเอง เริ่มด้วยการใช้แรงกายและสองมือขุดสระทำฝายกั้นน้ำ ทำไปเรื่อยๆทีละเล็กทีละน้อยตามกำลังที่มี กระทั่งขยายใหญ่ออกไปอีกหลายสระจนสามารถเก็บน้ำใช้สอยได้ตลอดปี เมื่อมีน้ำ มีดิน จะปลูกต้นไม้อะไรก็งอกงาม สัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ที่อยู่ตามธรรมชาติอย่างพวกนก หนู กบ เขียด รวมทั้งหมู่แมลงต่างๆก็ได้มาอาศัย เกิดเป็นความหลากหลายทางชีวภาพที่สามารถพึ่งพิงกันเองได้ ซึ่งบรรยากาศเช่นนี้คงหาได้ยากในการทำเกษตรเชิงเดี่ยว มหาอยู่มักจะพูดเสมอว่าแนวทางปฏิบัติต่างๆล้วนมีที่มาจากคำสอนของพ่อแม่ ที่สอนให้ลูกหลานเคารพแม่คงคา แม่ธรณีและรุกขเทวดา คือ น้ำ ดิน และต้นไม้ใหญ่น้อยนั่นเอง แล้วนำแนวคิดเดิมมาปรับใช้กับความรู้ใหม่ที่ได้มา โดยช่วงที่มหาอยู่บวชเรียนอยู่ที่กรุงเทพฯ ได้มีโอกาสพบเห็นสวนผลไม้แถบฝั่งธนบุรี ปลูกพืชผลแบบยกร่อง ในท้องร่องเต็มไปด้วยน้ำและดินโคลน ใบไม้ร่วงโรยเน่าเปื่อยทับถมกันอยู่ในท้องร่อง ก็ลอกขึ้นมาเป็นปุ๋ยธรรมชาติได้อย่างดี


               ทุกครั้งที่มีคนรุ่นหลังมาขอวิชาความรู้ มหาอยู่ก็ยังไม่เคยมีท่าทีเหน็ดเหนื่อยแต่อย่างใดที่จะพูดคุย หรือแม้แต่ต้องเดินทางไกลไปตามคำเชิญก็ตาม ความสุขสงบเช่นนี้คงจะมีที่มาจากครอบครัวอบอุ่น สภาพแวดล้อมที่ดี อาหารพอเพียงที่มีให้เลือกเก็บกิน ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นบำนาญแห่งชีวิตที่ มหาอยู่ มักจะบอกเสมอว่า ล้วนได้มาจากการออมน้ำ ออมดิน ออมต้นไม้ในเส้นทางสายเกษตรผสมผสานมาแต่ต้น

ปราชญ์ชาวบ้านอาวุโสของภาคอีสานที่มีความสุข
ครอบครัวอบอุ่นคือรากฐานของชีวิต
                พ่อมหาอยู่ สุนทรธัย เป็นบุตรคนที่ 3 ของนายคำชู และนางเม็ง สุนทรธัย เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2463 ที่บ้านตะแบก ต.สลักได อ.เมือง จ.สุรินทร์ จบชั้น ป.4 จากโรงเรียนสุรวิทยาคม หลังจบแล้วได้มาช่วยพ่อแม่ทำนาอยู่ช่วงหนึ่ง แล้วจึงได้บวชเรียนที่วัดจุมพลสุทธาวาส จ.สุรินทร์ ต่อมาจึงย้ายไปอยู่ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์  กรุงเทพมหานคร จนสอบได้นักธรรมชั้นเอก และเปรียญธรรม 3 ประโยคในปี พ.ศ.2486 เมื่อกลับมาเยี่ยมโยมพ่อโยมแม่ที่จังหวัดสุรินทร์ พบว่าท่านชราภาพมากแล้ว ยังต้องลำบากตรากตรำทำงาน จึงเกิดความสงสารและได้ตัดสินใจสึกออกมาช่วยพ่อแม่ทำนา 4 ปี ต่อมาคือปี 2490 ญาติผู้ใหญ่จึงได้ไปสู่ขอคุณแม่สุมาลี บุตรสาวสมุหบัญชี อ.เมือง จ.สุรินทร์ ในขณะนั้นมาเป็นคู่ครอง และอยู่กินกันมาอย่างมีความสุข มีลูกสืบตระกูลด้วยกัน 5 คน โดยลูกๆ กลับมาอยู่ใกล้ๆ พ่อแม่หมด ปัจจุบันพ่อมหาอยู่ สุนทรธัย และครอบครัวอยู่บ้านเลขที่ 6 หมู่ที่ 4 บ้านตะแบก ต.สลักได อ.เมือง จ.สุรินทร์

พึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง : ทางรอดคนอีสาน
1.  ต้องศรัทธาในแนวคิดการพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง  พ่อมหาอยู่ได้กล่าวย้ำทุกครั้งว่าหากจะพัฒนาอะไร ต้องเตรียมสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้อง
    เช่น   จะปลูกพืชอะไร      ต้องเตรียมดิน
              จะกินอะไร               ต้องเตรียมอาหาร
              จะพัฒนาการ          ต้องเตรียมประชาชน
              จะพัฒนาคน           ต้องเตรียมที่จิตใจ
              จะพัฒนาใครเขา    ต้องเตรียมที่ตัวเราก่อน
           ดังนั้นการที่ใครจะพัฒนาตนเองและครอบครัวให้พึ่งตนเองและพึ่งพากันเองได้จะ ต้องเตรียมความคิด และความศรัทธาในการพึ่งตนเองและพึ่งพากันเองก่อนเสมอ โดยเรียนรู้และเชื่อมโยงให้ครบ

2.  ต้องออมน้ำ ออมดิน ออมต้นไม้ใหญ่ ออมเงิน และสั่งสมภูมิปัญญาในการแก้ปัญหา พ่อมหาอยู่ ได้อาศัยหลักคิดของบรรพบุรุษที่สร้างแนวคิดให้ลูกหลานรักและเคารพน้ำ ให้เป็นแม่คือ แม่คงคา รักและเคารพดินให้เป็นแม่คือ แม่ธรณี ยกให้ต้นไม้ใหญ่เป็นรุกขเทวดา รวมทั้งเรียนรู้เท่าทัน มีภูมิปัญญาในการแก้ปัญหาและออมเงิน มาสร้างทุนทางสิ่งแวดล้อม เหล่านี้เป็นบำนาญชีวิต ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
     -  ตลอด ชีวิตที่ผ่านมา พ่อมหาอยู่ ได้ประสบความแห้งแล้งมาตลอด ต้องเดินทางไปหาบน้ำจากที่ไกลๆ เพื่อหาน้ำมาใช้ เมื่อเกิดภาวะแห้งแล้งมากๆ จึงทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะสู้ความแห้งแล้ง และได้ตั้งปณิธานมุ่งมั่นขุดบ่อ ทำฝายกั้นน้ำ โดยใช้กำลังของตนเอง จนมีสระน้ำจำนวนมาก สามารถกักเก็บน้ำไว้ตลอดปี
    -  น้ำ เป็นที่มาของสิ่งมีชีวิตทั้งพืช สัตว์ และมนุษย์ การทำเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวจะไม่ได้ออมน้ำไว้ใช้เพราะเน้นว่าที่ดินทุกตาราง นิ้วไว้ปลูกพืชเพื่อขาย เมื่อเกิดการแปรปรวนของปริมาณน้ำฝนเกษตรกรจึงทุกข์ยากมากและเป็นหนี้สิน เหมือนในปัจจุบัน เมื่อพ่อมหาอยู่ ขุดสระเก็บน้ำไว้ได้ สิ่งมีชีวิตต่างๆ ก็เริ่มกลับมาอยู่ด้วย ในเนื้อที่ 100 ไร่จึงมีทั้งกล้วย มะม่วง มะพร้าว ขนุน ไม้สัก ไม้สะเดา ไม้ไผ่ และต้นไม้หลากหลายพันธุ์นับร้อยชนิด รวมทั้งหมู เห็ด เป็ด ไก่ วัว ควาย และปลาอีกจำนวนมาก และในยามนี้ลูกหลานก็กลับมาร่วมชื่นชมและอยู่ปรนนิบัติคุณพ่อคุณแม่ การออมน้ำของพ่อมหาอยู่จึงได้สร้างชีวิตจำนวนมาก รวมทั้งชีวิตครอบครัวที่มีความสุข พึ่งตนเองได้
    -  ช่วง ที่บวชเรียนอยู่ที่กรุงเทพฯ ได้พบเห็นชาวสวนแถวๆ ฝั่งธนบุรีและนนทบุรี ปลูกพืชแบบยกร่อง มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นเต็มไปหมด เกิดความร่มรื่น ใบไม้ที่ร่วงผุ และเน่าเปื่อยเป็นปุ๋ย ขี้โคลนที่ลอกขึ้นมาจากท้องร่อง นำมากลบโคนต้นไม้ กลายเป็นปุ๋ยอย่างดี กลายเป็นการออมความอุดมสมบูรณ์ของดิน ช่วยให้ไม่มีรูรั่วไปซื้อปุ๋ยเคมี พ่อ มหาอยู่ได้ออมต้นไม้ใหญ่นับร้อยชนิด จำนวนหลายพันต้นทั้งผัก ผลไม้ และไม้ใช้สอย โดยระยะเริ่มต้นจะใช้กล้วยเป็นพืชพี่เลี้ยงและตามด้วยต้นไม้ใหญ่เหล่านี้ ผลของการออมต้นไม้ใหญ่ทำให้มีปัจจัย 4 ครบทั้งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยาสมุนไพรรักษาโรค นอกจากนี้ยังทำให้สัตว์ต่างๆ เช่น นก งู กบ เขียด มีที่พักอาศัย และที่สำคัญต้นไม้ใหญ่เหล่านี้ได้กลายเป็นบำนาญชีวิต ที่ช่วยต่ออายุของผู้เฒ่า ทั้งสามีภรรยาให้มีความสุขทั้งกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ 
    -  การเงินดี เป็นคาถาสำคัญที่พ่อมหาอยู่คอยบอกผู้มาเยือนว่า หากรู้จักออมเงิน นอกจากเงินจะกลายเป็นบำนาญชีวิตแก่ผู้ที่ออมมันไว้แล้ว เงินยังช่วยให้เราสามารถสร้างทุนทางสิ่งแวดล้อม เช่น จ้างรถแมคโครมาขุดสระออมน้ำ ใช้เงินซื้อที่ดินเพิ่ม เป็นการออมที่ดิน ซื้อต้นไม้พันธุ์ดีมาเปลี่ยนยอดพันธุ์พื้นเมืองให้ได้ผลผลิตดีไว้กิน ไว้แจกมีเหลือขายได้อีกด้วย และที่สำคัญยังสามารถเปลี่ยนเงินเป็นทุนทางปัญญา เช่น ใช้เป็นค่ารถให้สมาชิกมานั่งคุยกัน หรือไปศึกษาดูงาน เป็นต้น ดังนั้นพ่อมหาอยู่จึงได้พาเครือข่ายตั้งกลุ่มออมทรัพย์จนได้รับประกาศ เกียรติคุณ “ผู้นำกลุ่มสมาชิกที่ระดมเงินฝากโครงการออมทรัพย์วันละนิดเพื่อชีวิต สหกรณ์ดีเด่น” ประจำปี  2531   จาก สหกรณ์การเกษตรเมืองสุรินทร์ จำกัด

หลักการสร้างปัญญา
         พ่อมหาอยู่ อาศัยหลักการสร้างปัญญาไว้ 3 ทาง คือ
                ก) สุตมยปัญญา ได้แก่ ปัญญาเกิดจากการสดับ การเล่าเรียน
                ข) จินตามยปัญญา  ได้แก่ ปัญญาเกิดจากการพิจารณาเหตุผล
                ค) ภาวนามยปัญญา ได้แก่ ปัญญาเกิดจากการฝึกอบรมลงมือปฏิบัติ
         โดยวิธีสร้างปัญญาดังกล่าวร่วมกับการครองตนด้วยธรรมะข้ออื่นๆ อีกหลายข้อที่ยึดถือปฏิบัติอยู่เป็นนิตย์ทำให้พ่อมหาอยู่กลายเป็นผู้ทรง ภูมิปัญญา เป็นผู้เฒ่าที่มีคุณค่าและชราอย่างมีความสุข

3.  ต้องผสมผสานด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ  ความหลากหลายทางชีวภาพช่วยให้เราลดรายจ่ายด้านอาหารการกินลงได้อย่างชัดเจน เพราะเราปลูกและเลี้ยงทุกอย่างที่ต้องกินและต้องใช้ เมื่อมีเหลือก็แจกญาติสนิทมิตรสหาย ทำให้รักใคร่และพึ่งพากันเองได้ เหลือกินเหลือใช้ เหลือแจกก็ขายช่วยให้มีรายได้เพิ่ม ปลดเปลื้องหนี้สินได้ และมีเงินออม ทั้งออมเงินในรูปของแม่ธรณี แม่คงคา แม่มัจฉา แม่โพสพ และรุกขเทวดา รวมความว่าความหลากหลายทางชีวภาพช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้น และยังช่วยให้ระบบนิเวศน์ดีขึ้น เพราะใบไม้ของต้นไม้ชนิดหนึ่งย่อยสลายแล้วกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ของอีกชนิด หนึ่ง การมีต้นไม้หลากหลายทำให้มีแมลงที่หลากหลายและควบคุมกันเอง มีสัตว์กินแมลง เช่น นก กบ เขียด มาอาศัยอยู่เพราะมีอาหารอุดมสมบูรณ์ ตามมาด้วยงู กระรอก กระแตมาอยู่ร่วมกันได้ เพิ่มปุ๋ยคอกแก่ต้นไม้ด้วย การเป็นอาหารของกันและกัน พร้อมควบคุมกันเองทำให้ห่วงโซ่อาหารครบวงจร เกิดความยั่งยืน รวมทั้งไม่ต้องซื้อปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า และสารเคมีฆ่าแมลง ช่วยให้พึ่งตนเอง และพึ่งพากันเองได้ นอก จากนั้นการใช้ไม้พันธุ์พื้นเมืองยังช่วยให้ได้ต้นไม้และสัตว์ที่ทนโรคทนแล้ง และเมื่อต้องการพันธุ์ดีก็นำกิ่งดีๆ มาติดตาต่อกิ่งหรือเปลี่ยนยอดได้


ความสุขที่สัมผัสได้ เมื่อถามถึงความสุขพ่อมหาอยู่ตอบทันทีว่า คือ 
   - อารมณ์ดี  หมายถึง มีอยู่มีกิน ไม่มีหนี้ ครอบครัวมีสุข
   - อากาศดี  หมายถึง สิ่งแวดล้อมดีๆ
   - อาหารดี  หมายถึง อาหารพอเพียงครบทุกหมวดหมู่ สะอาด และปลอดภัยจากสารพิษ
   - สมุนไพรดี  หมายถึง มีสมุนไพรเป็นทั้งอาหารในชีวิตประจำวัน และเป็นยารักษาโรคอย่างพอเพียง
   - การเงินดี  หมายถึง ดูแลดีไม่มีรูรั่ว และออมเป็น
วิธีการได้มาซึ่งความสุข ใช้หลักการมีศีล คือ 
   - สีเลนะ สุคะติง ยันติ (ศีลทำให้เกิดความสุขตลอดไป)
   - สีเลนะ โภคะสัมปะทา (ผู้มีศีลจะถึงพร้อมด้วยสมบัติ)
   - สีเลนะ นิพพุติง ยันติ (ศีลทำให้ได้พระนิพพาน คือสงบจากกิเลส)
   - ตัสมา สีลัง วิโสธเย (ดังนั้นจงรักษาศีลให้บริสุทธิ์เถิด จะทำอะไรต้องใช้ศีลควบคุมตนเองและแนวทางโครงการเสมอ)
         การขยายความคิดและเครือข่ายหนึ่งล้านครอบครัวในอีสาน ตลอด 40 ปีเศษ ของความสำเร็จที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พ่อมหาอยู่ได้ขยายความคิดออกไปอย่างกว้างขวาง โดยรับดูงานทั้งชาวบ้าน ผู้นำชาวบ้าน นักพัฒนาภาครัฐ นักพัฒนาภาคเอกชน นักวิชาการ นักธุรกิจ และสื่อมวลชนรวมทั้งผู้สนใจนับได้ไม่หวาดไม่ไหว และพ่อมหาอยู่ได้ปวราณาตัวที่จะรับใช้แผ่นดินไทยจนกว่าชีวิตจะหาไม่ให้ได้ หนึ่งล้านครอบครัวในภาคอีสานที่พึ่งตนเองและพึ่งพากันเองได้ถวายในหลวง โดยร่วมขบวนการใน 3 เครือข่ายใหญ่ๆ ดังนี้ คือ
    1. เครือข่ายภูมิปัญญาชาวบ้านและพหุภาคีภาคอีสาน
    2. เครือข่ายขุดสระตามทฤษฎีใหม่จังหวัดสุรินทร์
    3. เครือข่ายจัดสวัสดิการเร่งด่วน  เพื่อผู้ยากไร้ของกองทุนเพื่อสังคม
ซึ่งทั้ง 3 เวทีเครือข่ายจะพบพ่อมหาอยู่เสมอ รวมทั้งศูนย์เรียนรู้ของท่านยินดีต้อนรับผู้ดูงานที่สนใจ

แก่เกษตรผสมผสานยิ่งแก่ยิ่งมัน
              หลายคนไปเรียนถามพ่อมหาอยู่ว่าไม่รู้สึกเหนื่อยบ้างหรือไร อายุมากถึงปานนี้ยังเดินทางไปที่ต่างๆ เพื่อขยายความคิด พ่อมหาอยู่ได้ตอบไปว่าความแก่มีมากมายหลายประเภท เช่น     - แก่หูหวาย                 - แก่ได้ดอก
            - แก่หยอกหลาน         - แก่กระดูก (ไฮโล)
            - แก่กระดาษ (ไพ่)       - แก่แดด (ตากแดด)
            - แก่แรด (ยิงสัตว์)       - แก่ฟักแก่แฟง
            แต่ผมแก่เกษตรผสมผสาน ยิ่งแก่ยิ่งมันส์ เพราะมีทั้งบำนาญชีวิต มีร่างกายและจิตใจที่แข็งแกร่งกว่าวัยเดียวกันหลายเท่า มีครอบครัวที่อบอุ่น มีชุมชนที่เข้มแข็ง มีสิ่งแวดล้อมดี มีอิสรภาพไร้หนี้ปลอดสิน มีความภาคภูมิใจได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์แก่ลูกหลานและผู้สนใจไม่รู้ เบื่อ และที่สำคัญคือ มีปัญญาเรียนรู้ธรรมะ และธรรมชาติ เห็นสัจธรรมของความยั่งยืนจากความสมดุลระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
ความสำเร็จอยู่ที่การเตรียมตัว
              พ่อมหาอยู่ได้ให้คาถาของความสำเร็จในปัจจุบันเพิ่มเติมจากอิทธิบาท 4 ว่าต้องวางแผน กล่าวคือ คนเราจะต้องเตรียมตัวดังนี้
    - เตรียมตัวก่อนตาย
    - เตรียมกายก่อนแต่ง
    - เตรียมน้ำก่อนแล้ง
    - เตรียมแรงก่อนทำงาน
             ซึ่งทั้งหมดนี้รวมเป็น “พ่อมหาอยู่ สุนทรธัย” ปราชญ์ชาวบ้านอาวุโสของภาคอีสานที่มีความสุข ซึ่งพวกเรารักและเคารพ
จุดเด่นของศูนย์เรียนรู้ของพ่อมหาอยู่ สุนทรธัย
    1. เป็นพุทธเกษตรที่นำความรู้ทางพุทธศาสนามาประยุกต์กับการทำเกษตรผสมผสาน
    2. มีการออมน้ำ ออมความอุดมสมบูรณ์ของดิน การออมสัตว์ และออมต้นไม้ยืนต้นทั้งผัก ผลไม้ และไม้ไม้ใช้สอย
    3. มีการจัดการที่ชัดเจน
    4. มีรูปธรรมการมีความสุขในมิติต่างๆ 
หลักสูตรดูงาน
    1. ดูงานเฉพาะของพ่อมหาอยู่  สุนทรธัย ใช้เวลา 3-6 ชั่วโมง
    2. ดูงานกลุ่มเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านใช้เวลา 3-5 วัน
ศูนย์เรียนรู้ของพ่อมหาอยู่ สุนทรธัย
          มีผู้มาศึกษาดูงานเป็นจำเดือนละ 10-15 คณะ โดยปี 2542 มีผู้มาศึกษาดูงาน 5000 คนเศษ รูปแบบการเกษตรผสมผสานในศูนย์เรียนรู้แห่งนี้เป็นประโยชน์อย่างมากต่อ เกษตรกรที่สนใจ แนวคิดการพึ่งตนเองเป็นหัวใจสำคัญต่อทุกคนที่มาเรียนรู้
กลุ่มต่างๆ ที่น่าจะได้มาศึกษาดูงาน  ได้แก่
    1. เกษตรกรที่สนใจทั้งชายและหญิง
    2. เด็กและเยาวชน
    3. ข้าราชการที่สนใจทฤษฎีใหม่

                    กว่า ๔๐ ปีที่ผ่านมา แนวคิดเกษตรกรรมยั่งยืนของมหาอยู่ได้เผยแพร่ไปในวงกว้าง ท่านได้ปวารณาตัวที่จะรับใช้แผ่นดินไทยจนกว่าชีวิตจะหาไม่ เพื่อให้หนึ่งล้านครอบครัวในภาคอีสานสามารถพึ่งตนเองและพึ่งพากันเองได้ถวาย ในหลวง โดยร่วมกับเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนภาคอีสานหลายแห่ง อาทิ เครือข่ายภูมิปัญญาชาวบ้านและพหุภาคีภาคอีสาน จัดตั้ง "มหาวิชชาลัยภูมิปัญญาไทอีสานคืนถิ่น" ขึ้นเพื่อเผยแพร่ไม่ให้ภูมิปัญญาพื้นถิ่นของชาวอีสานสูญหายไป และนับเป็นเกียรติสำคัญยิ่งในชีวิต เมื่อมหาอยู่ สุนทรธัย ปราชญ์แห่งเกษตรกรรมยั่งยืน ได้เข้ารับพระราชทานโล่เชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราช กุมารี ในงานสมัชชาเกษตรกรรมทางเลือก ครั้งที่ ๓ ในฐานะผู้สร้างสรรค์เกษตรกรรมยั่งยืน

องค์ความรู้ที่ได้
    -  การทำเกษตรผสมผสาน เพื่อใช้เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยพยุงวิถีชีวิตให้มีทางเลือก โดยเราสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมและวิถีวัฒนธรรมของตนเองได้
    -  การพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง
    -  การออมน้ำ ออมดิน ออมต้นไม้ใหญ่ ออมเงิน และสั่งสมภูมิปัญญาในการแก้ปัญหา
    -  หลักการสร้างปัญญา 3 ทาง คือ
          1)  สุตมยปัญญา ได้แก่ ปัญญาเกิดจากการสดับ การเล่าเรียน
          2)  จินตามยปัญญา  ได้แก่ ปัญญาเกิดจากการพิจารณาเหตุผล
          3)  ภาวนามยปัญญา ได้แก่ ปัญญาเกิดจากการฝึกอบรมลงมือปฏิบัติ
    -  ประโยชน์ของความหลากหลายทางชีวภาพ
          1)  ช่วยให้เราลดรายจ่ายด้านอาหารการกินลงได้อย่างชัดเจน
          2)  ช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้น
          3)  ช่วยให้ระบบนิเวศน์ดีขึ้น
    -  ใช้หลักการมีศีล ในการสร้างความสุข คือ 
          1)  สีเลนะ สุคะติง ยันติ (ศีลทำให้เกิดความสุขตลอดไป)
          2)  สีเลนะ โภคะสัมปะทา (ผู้มีศีลจะถึงพร้อมด้วยสมบัติ)
          3)  สีเลนะ นิพพุติง ยันติ (ศีลทำให้ได้พระนิพพาน คือสงบจากกิเลส)
          4)  ตัสมา สีลัง วิโสธเย (ดังนั้นจงรักษาศีลให้บริสุทธิ์เถิด จะทำอะไรต้องใช้ศีลควบคุมตนเองและแนวทางโครงการเสมอ)
    -  ความสำเร็จอยู่ที่การเตรียมตัว คนเราจะต้องเตรียมตัวดังนี้
          1)  เตรียมตัวก่อนตาย
          2)  เตรียมกายก่อนแต่ง
          3)  เตรียมน้ำก่อนแล้ง
          4)  เตรียมแรงก่อนทำงาน

รางวัลที่ได้รับ
     -  รับพระราชทานโล่เชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราช กุมารี ในงานสมัชชาเกษตรกรรมทางเลือก ครั้งที่ ๓ ในฐานะผู้สร้างสรรค์เกษตรกรรมยั่งยืน
     -  ประกาศ เกียรติคุณ ผู้นำกลุ่มสมาชิกที่ระดมเงินฝากโครงการออมทรัพย์วันละนิดเพื่อชีวิต สหกรณ์ดีเด่น” ประจำปี  2531   จาก สหกรณ์การเกษตรเมืองสุรินทร์ จำกัด


จุดเด่น

ลักษณะการทำเกษตรและแนวคิด
             การทำเกษตรผสมผสาน พออยู่พอกิน ผสมผสานด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ การพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง การสร้างความสุขด้วยหลักการมีศีล การเผยแพร่ความรู้สู่คนในชุมชนและผู้ที่สนใจ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น







ลุงไกร ชมน้อย (ผักปลอดสารพิษ)


‘ลุงไกร ชมน้อย’ ผู้สร้างตำนาน ‘ผักปลอดสารพิษ’

               เรื่องของเกษตรอินทรีย์ หรือผักปลอดสารพิษ เป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจกับผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ทำให้อะไรก็ตามที่แปะยี่ห้อว่าปลอดสารพิษราคาจะพุ่งสูงลิ่ว อย่างไม่รู้สาเหตุว่าแพงเพราะอะไร  ในขณะที่กระแสความนิยมกับผลิตภัณฑ์พืชผักปลอดสารพิษ ค่อนข้างสวนทางกัน ไม่สามารถตอบสนองกับตลาดได้มากเท่าที่คิด นำมาสู่ปัญหาการปลอมผัก คือถุงใส่ผักระบุว่าผักปลอดสารพิษ แต่ผักข้างในยังอุดมไปด้วยสารเคมี ซึ่งแบบนี้ก็มีเกิดขึ้นอยู่
              การทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ คือการกลับไปสู่เกษตรแบบดั้งเดิม ที่พึ่งพาลมฟ้าอากาศตามฤดูกาลที่ผักนั้นจะออกผล และแน่นอนว่า ไม่สามารถตามใจตลาดได้ ตลาดเองต้องเป็นคนเดินตามเกษตรกร  นี่จึงเป็นคำตอบนึงว่าทำไมผักลอดสารถึงมีราคาแพง และมีจำนวนไม่มาก
              อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา เป็นประตูเชื่อมระหว่างภาคอีสานกับภาคตะวันออก หลายคนมักเรียกว่า "สวิตเซอร์แลนด์แดนอีสาน" เพราะแวดล้อมไปด้วยขุนเขาและที่ลาดชัน ก่อให้เกิดทัศนียภาพสุดสวย อากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี เป็นแหล่งผลิตโอโซนบริสุทธิ์ติดอันดับ 7 ของโลก เป็นแหล่งรวมเกษตรกรคนเก่งและปราชญ์ชาวบ้านที่มีชื่อเสียงมากมาย อย่างเช่น ลุงไกร ชมน้อย เกษตรศิลปินปราชญ์เดินดิน หากินอย่างพอเพียง


                ลุงไกร ชมน้อย กล่าวว่า หากย้อนหลังไป 10 ปี พื้นที่ส่วนใหญ่ของ อ.วังน้ำเขียว ยังคงปลูกข้าวโพดหรือพืชเชิงเดี่ยว ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ ราคาผลผลิตไม่แน่นอน ตอนนั้นได้พาครอบครัวออกจากเมืองหลวงมาปักหลักปลูกผักขายอยู่ที่วังน้ำเขียว
                ลุงไกรกล่าวว่า เคยไปทำงานด้านช่างในต่างประเทศ ทำให้ได้พบเห็นการเกษตรในที่ต่างๆ จึงตัดสินใจปลูกผักสลัด ทั้งที่ยังไม่มีความรู้ด้านการเกษตรเลย ช่วงนั้นคนมองว่าบ้าเอาผักเมืองหนาวมาปลูกในแผ่นดินอีสาน แต่ไม่เคยสนใจเอาความวิริยะบวกความเพียร เพาะปลูกโดยใช้เมล็ดเพาะ พื้นที่ 1 ตร.ม.จะได้ผัก 12 กอ ต้องคำนวณว่าในแต่ฤดูได้กอละกี่ขีดแล้วใช้วิธีขายตรงไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ช่วงแรกติดต่อส่งผักเข้าเลมอนฟาร์ม ซึ่งต้องการสัปดาห์ละ 300 กก. ทำให้ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้ได้ผักอย่างที่ลูกค้าต้องการ ไม่จำเป็นต้องเน้นปริมาณ ผักบางชนิดราคาในตลาด กก.ละ 300 บาท ได้พยายามมองหาผักใหม่ๆ มาทดลองปลูกอยู่เสมอและประเมินความต้องการของตลาด


                 "ผักที่ปลูกตอนนี้มีผักกาดแก้ว, ครอส, เรด โอ๊ก, กรีนโอ๊ก, บัตเตอร์เฮด และสลัดใบแดง และยังลงหัวบีตรูต มะเขือราชินี มะเขือเทศเนื้อ และข้าวโพดสองสีเสริมเข้าไป ถ้ามีป้อนตลาดก็รับหมด แต่หลักจริงๆ คือผักสลัดอย่าให้ขาด สมมติว่าปลูกข้าวโพดสองสีหนอนชอบมากก็แค่ข้าวโพด ผมอาจเสียหายข้าวโพด 3 แปลง แต่ผมได้ผัก 40 แปลง เราต้องให้โอกาสแมลงเหมือนกันให้เขามีตัวเลือก นั่นคือการปลูกผักใกล้เคียงกับธรรมชาติ ให้เกิดความสมดุล ให้ผักมันควบคุมของมันเองโดยที่เราไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง การรดน้ำผมก็ใช้ระบบเดินฉีด บางทีหนอนกำลังกินใบอยู่แรงดันน้ำจะทำให้หนอนตกลงไปกองอยู่กับพื้น พวกนี้มันอยู่ตรงไหนก็ตรงนั้น เมื่อตกดินก็กินดินเป็นการลดต้นทุน แต่เหนื่อยแรงงานหน่อย จริงๆ แล้วการเป็นเกษตกรเป็นเรื่องที่ง่าย หากรู้จักสังเกตเขาก็จะเป็นดอกเตอร์ได้" ลุงไกรกล่าว

                       ปัจจุบันลุงไกรใช้ชีวิตในดินแดนแห่งนี้อย่างมีความสุข ร้องเพลงให้ผักฟังทุกวัน มีคนไปเยี่ยมชมไม่ขาดสาย ถือเป็นเกษตรกรศิลปินที่น่ายกย่องและเอาเป็นแบบอย่าง

องค์ความรู้ที่ได้

       -  การทำเกษตรอินทรีย์ หรือผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพที่ดีของเกษตรกรและผู้บริโภค และยังส่งผลให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
     -  การนำเอาแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการทำเกษตร

รางวัลที่ได้รับ

     -  โล่ประกาศเกียรติคุณโครงการพัฒนาและส่งเสริมศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชน (FARM  OUTLET)

จุดเด่น

          แนวคิดในการทำเกษตรอินทรีย์โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค และการเผยแพร่ความรู้จากประสบการณ์ของตนแก่ผู้ที่สนใจ



http://goodmap.kapook.com/reports/view/61