วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การศึกษานอกสถานที่

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี


การจัดเเสดง แบ่งเป็น 2 ชั้น

ชั้นล่างเป็นส่วนที่เรียกว่า "สถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม"

               เป็นส่วนที่จัดแสดงเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและความเป็นอยู่ของสัตว์ทะเลชนิดต่างๆที่อาศัยอยู่ในเขตน่านน้ำของไทย  โดยทรัพยากรที่ใช้ในการให้ความรู้คือสิ่งมีชีวิตในทะเลชนิดต่างๆทั้งพืชและสัตว์ที่ยังมีชีวิต โดยสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะถูกเลี้ยงในระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิดที่มีระบบยังชีพสำหรับให้สิ่งมีชีวิตต่างๆเหล่านี้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ในแต่ละตู้มีการจัดสภาพให้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด แต่ละตู้จะมีป้ายเพื่อบ่งบอกชนิดสัตว์ทะเลที่อยู่ในตู้ทั้งชื่อสามัญและชื่อทางวิทยาศาสตร์ โดยหัวข้อต่างๆที่ให้ความรู้สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 หัวข้อใหญ่ ดังแสดงในแผนผังการจัดแสดงในสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม ได้แก่
               สำหรับส่วนที่จัดแสดงไว้ในสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล บางแสนนี้ เป็นบริเวณเขตน้ำขึ้น-น้ำลง บริเวณที่เป็นหาดหิน และมีน้ำขังอยู่ตามแอ่งหิน ซึ่งลักษณะเช่นนี้เรียกกันทั่วไปว่า "แอ่งน้ำขึ้น-น้ำลง" (Tidal Pool) ตามธรรมชาติตามแอ่งน้ำขึ้น-น้ำลงเช่นนี้จะพบ กุ้ง ลูกปลาบางชนิด หอยนางรม ปูเสฉวน เม่นทะเล ดอกไม้ทะเล ดาวทะเล ฯลฯ

http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/aq/R0011548.JPG

2. ปลาในแนวปะการัง 
บริเวณแนวปะการังนับเป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของทะเล สัตว์ทะเลหลายชนิดอาศัยบริเวณนี้เป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่หลบซ่อนภัยและเป็นแหล่งอาหาร นอกจากนี้แล้ว ยังใช้เป็นที่สำหรับผสมพันธุ์ วางไข่ และเจริญเติบโตของสัตว์ตัวอ่อนอีกด้วย สำหรับปลาที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ส่วนใหญ่ จะเป็นปลาที่มีขนาดเล็กและมีสีสันสวย งาม เช่น ปลาสลิด ปลาการ์ตูน ปลาผีเสื้อ เป็นต้น  

 http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/aq/R0011551.JPG

3. การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต จัดแสดงเกี่ยบกับการดำรงชีวิตอยู่รวมกัน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันของปลาการ์ตูนกับดอกไม้ทะเล โดยที่ปลา เหล่านี้จะอาศัยดอกไม้ทะเลเป็นที่หลบภัยและสืบพันธุ์ ส่วนดอกไม้ทะเลจะได้รับ ประโยชน์จากปลาโดยการล่อเหยื่อหรือชักนำเหยื่อมาให้ เนื่องจากเข็มพิษของดอกไม้ทะเลไม่เป็นอันตรายต่อปลาการ์ตูน เพราะปลาดัง กล่าวมีสารเคมีที่มีลักษณะเป็นเมือกหุ้ม ตัวอยู่โดยรอบ ซึ่งเป็นลักษณะที่ธรรมชาติสรรค์ สร้างให้มันอาศัยอยู่ร่วมกัน โดยทั่ว ๆ ไปดอกไม้ ทะเลอาจไม่มีพิษกับคน ยกเว้นในกรณีของ บางคนอาจมีอาการแพ้เกิดขึ้นถ้าไป สัมผัสเข้า โดยจะเกิดผื่นแดง และมีอาการคันหรือ บวมได้ 
   4. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังน้ำเค็ม เป็นสัตว์โครงร่างแข็งที่ไม่ใช่กระดูกอยู่ภายในลำตัว และบางชนิดมีเปลือกแข็งหุ้มอยู่ภายนอก เพื่อป้องกันอันตราย และใช้ยึดของกล้ามเนื้อ เช่น หอย หมึก กุ้ง สัตว์จำพวกนี้ มีลักษณะแตกต่างกันออกไปทั้งขนาด รูปร่าง ที่ อยู่อาศัย และอุปนิสัยในการกินอาหาร บางชนิดมี อันตราย แต่หลายชนิดก็มีประโยชน์ และมีความสำคัญ ทางเศรษฐกิจ สัตว์เหล่านี้ ได้แก่ สัตว์ในไฟลั่ม โพริเฟอร์รา (Phylum Porifera) ไฟลั่มซีเลนเท อราต้า (Phylum Coelenterata) ไฟลั่มมอลลัสกา (Phylum Mollusca) เป็นต้น

http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/aq/R0011561.JPG

5. ปลาเศรษฐกิจ ในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนเป็นบริเวณที่ค่อนข้างมีปลาชุกชุม และปลาหลายชนิดเป็นปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เกี่ยวกับประเภทของปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ 

1. พวกที่นำมาเป็นอาหาร ส่วนมากเป็นปลาที่พบเห็นโดยทั่วไป และชาวประมงจับขึ้นมาเป็นส่วนใหญ่ เช่น ปลากะรัง หรือที่เรียกกันว่า "ปลาเก๋า" นอกจากนี้ก็มีปลากะพง ชนิดต่าง ๆ ปลาอีคุด ปลาสีขน เป็นต้น

2. พวกที่นำมาเลี้ยงเพื่อความสวยงาม ส่วนมากเป็นที่อาศัยอยู่ในบริเวณปะการัง ได้แก่ ปลาสลิดทะเล ปลานกแก้ว ปลานกขุนทอง ปลาเหล่านี้มีราคาค่อนข้างแพง เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ฉะนั้นเราจึงจัดปลาสวยงามเหล่านี้ไว้ในกลุ่มปลาเศรษฐกิจด้วย 


 http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/aq/R0011572.JPG 

6. ปลารูปร่างแปลกและปลามีพิษ ปลาบางชนิดมีรูปร่างแปลก โดยมีรูปร่างหรือสีกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เพื่อหลบหลีกศัตรูหรือพรางตาเหยื่อ ปลาบางจำพวกนอกจากมีรูปร่างแปลกแล้ว ยังมีสีสันสวยงามและมีพิษด้วย เช่น ปลากระเบน ปลาไหลทะเล ปลาปักเป้า เป็นต้น


http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/aq/R0011580.JPG 

7. ปลาที่อาศัยในมหาสมุทร ในทะเลและมหาสมุทรมีขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ปลาที่มีขนาดเล็กรวมทั้งพวกที่มีสีสันสวยงามหลายพวก มักจะอาศัยอยู่ใกล้ฝั่งหรืออยู่ในที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ 

ชั้นบนเป็นส่วนที่เรียนว่า "พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล"

                ส่วนแรก จัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เกี่ยวกับพระราชกรณีกิจทางด้านการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และด้านวิทยาศาสตร์การประมง

http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012760.JPG http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012766.JPG http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012768.JPG


ส่วนที่สอง จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่องราวของทะเล ระบบนิเวศ และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล รวมทั้งความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ โดยแบ่งเป็น 4 ส่วนได้แก่

1.     นิทรรศการเรื่องราวของอาณาจักรของสิ่งมีชีวิตในทะเล  โดยให้ความรู้ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆที่อาศัยอยู่ในทะเล สัตว์ที่มีโพรงลำตัว สัตว์จำพวกหนอนทะเล สัตว์จำพวกหอย สัตว์ที่มีข้อปล้องในทะเล สัตว์จำพวกคอร์เดทในทะเล และสัตว์ทะเลที่มีกระดูกสันหลังชนิดต่างๆ รวมทั้งเรื่องราวของทะเล และสิ่งมีชีวิตในทะเลยุคดึกดำบรรพ์ 

http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012769.JPG http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012772.JPG http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012839.JPG
http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012830.JPG http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012814.JPG http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012820.JPG

2.     นิทรรศการเรื่องราวของทะเล และระบบนิเวศในทะเล ในส่วนนี้จะกล่าวถึงการแบ่งเขตของทะเล และระบบนิเวศต่างๆในทะเล รวมทั้งพืช และสัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ในแต่ละระบบนิเวศ โดยเริ่มตั้งแต่ ระบบนิเวศของป่าชายเลน ระบบนิเวศหาดหิน ระบบนิเวศหาดทราย และหาดโคลน ระบบนิเวศแนวปะการัง เป็นต้น 
http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012770.JPG http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012771.JPG

3.     นิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์  เป็นส่วนที่จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ เช่น เป็นแหล่งทำการประมงโดยใช้เครื่องมือประมงทะเล เช่น โป๊ะ และเรือประมงทะเลชนิดต่างๆ เป็นเส้นทางค้าขาย และเดินทางติดต่อกันของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 
http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012843.JPG http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012848.JPG http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012849.JPG

4.     ห้องพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย และวิวัฒนาการของหอย ในห้องนี้จะจัดแสดงเกี่ยวกับเปลือกหอยที่พบในทะเลกลุ่มต่างๆ รวมทั้งนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับหอยแต่ละกลุ่ม วิวัฒนาการของหอยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และการแบ่งกลุ่มของหอยที่มีอยู่ในโลก
http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012857.JPG http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012860.JPG http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012861.JPG




หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี


การจัดแสดงแบ่งออกเป็น 11 ส่วน ได้แก่

1.  เยืยนถิ่นบูรพาวันนี้
               ได้นำเสนอลักษณะกายภาพของพื้นที่ และภาพรวมของภาคตะวันออกในปัจจุบัน ทั้งสภาพความเป็นอยู่ และวิถีทำกินของชุมชน

2.  ตามรอยอารยธรรมแห่งบูรพทิศ
              ได้นำเสนอการพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่และชุมชนในภาคตะวันออก มีความหมายสืบและรัตนโกสินทร์เนื่องทางวัฒนธรรม มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทราวดี เขมรโบราณ สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี

3.  แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคตะวันออก
              ได้นำเสนอแหล่งโปราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งมีความสำคัญในฐานะที่แสดง ถึงหลักฐานการตั้งถิ่นฐาน ของชุมชนโบราณบริเวณริมฝั่งทะเล ที่สะท้อนภาพชีวิตความเป็นอยู่ และวิถีวัฒนธรรมที่น่าสนใจ

4.  แหล่งโบราณคดีหนองโน จังหวัดชลบุรี
              ได้นำเสนอเรื่องราวของแหล่งโบราณคดีที่มีการพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณ ที่มีอายุถึง ๔๕๐๐-๔๐๐๐ ปี นับเป็นชุมชนฝั่งทะเลสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

5.  แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี จังหวัดชลบุรี
              ได้นำเสนอเรื่องราวของโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุ ๔๕๐๐  ๔๐๐๐ ปี มาแล้วซึ่งพึ่งพาอาหารจากทะเลเป็นหลัก และมีการอยู่อาศัยต่อเนื่องยาวนานกว่า ๔๐๐ ปี

6.  เมืองโบราณที่สำคัญในประวัติศ่สตร์บนดินแดนบูรพทิศ
              ได้นำเสนอเรื่องราวของเมืองโบราณสำคัญได้แก่ เมืองเพนียด จังหวัดจันทบุรี เมืองพระรถ จังหวัดชลบุรี เมืองศรีพโล จังหวัดชลบุรี เมืองพญาแร่ จังหวัดชลบุรี

7.  วิธีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมบนแผ่นดินภาคตะวันออกในยุคประวัติศาสตร์ก่อนสยามประเทศ
              ได้นำเสนอเรื่องราวของวัฒนธรรมภายนอกทั้งจากอินเดีย เขมรโบราณ และดินแดนโพ้นทะเลที่เข้ามามีอิทธิพล บนแผ่นดินภาคตะวันออก และยังปรานกฎร่องรอยหลักฐานจวบจนปัจจุบัน

8.  อิทธิพลความเชื่อและศาสนาในเมืองโบราณศรีมโหสถ
              ได้นำเสนอเรื่องราวของอิทธิพลความเชื่อและศาสนาหลากหลายวัฒนธรรมทั้งพุทธ พราหมณ์ อินดู ที่เข้ามามีบทบาทในเมืองซรีมโหสถ วึ่งปรากฏเป็นหลักฐานโบราณสถานและโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก

9.  เมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี บนแผ่นดินภาคตะวันออก
              ได้รำเสนอเรื่องราวของเมืองศรีมโหสถ เมืองโบราณสำคัญในสมัยวัฒนธรรม ทราวดี ซึ่งมีพัฒนาการมาจาก สถานีการค้าสำคัญที่มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชน มาตั่งตาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ถึงสมัยทราวดี

10.  ชนต่างวัฒนธรรมในชุมชนภาคตะวันออก
              ได้นำเสนอกลุ่มชาติพันธุ์สำคัญที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บนแผ่นดินภาคตะวันออก ได้แก่ คนชอง คนจีน คนญวน คนลาว และคนไทยมุสลิม

11.  ภาพจิตรกรรมฝาผนัง งานศิลปะอันทรงคุณค่า
              ได้นำเสนอภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวัดริมฝั่งทะเลภาคตะวันออกซึ่งเป็นงานศิลปะอันทรงคุณค่า มีเอกลักษณ์ของงานฝีมือช่างท้องถิ่น และสะท้อนถึงภาพสังคม วัฒนธรรมความเชื่อของชุมชน

 
 
 


 
 
 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น