วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติกับแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้


ประเภทของแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตต้นแบบ 


การแบ่งประเภทแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตต้นแบบ ตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 25

ลำดับ
ประเภทแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 25
หน่วยงาน/แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตต้นแบบ
1.
ห้องสมุดประชาชน
-  ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
-  ห้องสมุดประชาชนจังหวัดมุกดาหาร จ.มุกดาหาร
-  ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี
-  ห้องสมุดประชาชนจังหวัดฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา
-  ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอเมืองราชบุรี จ.ราชบุรี
-  ห้องสมุดประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช
-  ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” จ.ภูเก็ต
2.
พิพิธภัณฑ์
-  พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี จ.พิษณุโลก
-  พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร
-  พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย จ.นครปฐม
-  องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จ.ปทุมธานี
3.
หอศิลป์
-  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลปะ กรุงเทพมหานคร
-  หอศิลปะมหาวิทยาลัยกรุงเทพ กรุงเทพมหานคร
-  หอศิลปะวิทยนิทรรศน์ กรุงเทพมหานคร
4.
สวนสัตว์
-  สวนสัตว์เชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
-  สวนสัตว์นครราชสีมา จ.นครราชสีมา
-  สวนสัตว์ดุสิต กรุงเทพมหานคร
- สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี
-  สวนสัตว์สงขลา จ.สงขลา
5.
สวนสาธารณะ
-
6.
สวนพฤกษศาสตร์
-  สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (ทุ่งค่าย) จ.ตรัง
7.
อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
-
8.
ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ
-  ศูนย์กีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
9.
แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตประเภทอื่น
-  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงใหม่
-  ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติตำบลไทรย้อยเครือข่ายเศรษฐกิจ
พอเพียง จ.แพร่
-  พระธาตุเรืองรอง จ.ศรีสะเกษ
-  สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น
-  สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จ.มหาสารคาม
-  เมืองโบราณ จ.สมุทรปราการ
-  สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี
-  หอสมุด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ จ.นครนายก
-  ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมวัดญาณสังวราราวรมหาวิหารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ชลบุรี
-  สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำภูเก็ต สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน จ.ภูเก็ต


การแบ่งประเภทแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตต้นแบบ ตามประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

ลำดับ
หน่วยงาน/แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
สิ่งแวดล้อม
บุคคล
สถานที่

กิจกรรม
1.
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
-
-
/
-
2.
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี จ.พิษณุโลก
-
-
/
-
3.
สวนสัตว์เชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
-
-
/
-
4.
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจาก   พระราชดำริ จ.เชียงใหม่
-
-
/
-
5.
ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติตำบลไทรย้อยเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง จ.แพร่
-
-
/
-
6.
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดมุกดาหาร จ.มุกดาหาร
-
-
/
-
7.
พระธาตุเรืองรอง จ.ศรีสะเกษ
-
-
/
-
8.
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี
-
-
/
-
9.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น
-
-
/
-
10.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จ.มหาสารคาม
-
-
/
-
11.
สวนสัตว์นครราชสีมา จ.นครราชสีมา
-
-
/
-
12.
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา
-
-
/
-
13.
ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอเมืองราชบุรี จ.ราชบุรี
-
-
/
-
14.
พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร
-
-
/
-
15.
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย จ.นครปฐม
-
-
/
-
16.
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จ.ปทุมธานี
-
-
/
-
17.
เมืองโบราณ จ.สมุทรปราการ
-
-
/
-
18.
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี
-
-
/
-
19.
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลปะ กรุงเทพมหานคร
-
-
/
-
20.
หอศิลปะมหาวิทยาลัยกรุงเทพ กรุงเทพมหานคร
-
-
/
-
21.
หอศิลปะวิทยนิทรรศน์ กรุงเทพมหานคร
-
-
/
-
22.
สวนสัตว์ดุสิต กรุงเทพมหานคร
-
-
/
-
23.
สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี
-
-
/
-
24.
ศูนย์กีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
-
-
/
-
25.
หอสมุด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ จ.นครนายก
-
-
/
-
26.
ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ชลบุรี
-
-
/
-
27.
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช
-
-
/
-
28.
ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” จ.ภูเก็ต
-
-
/
-
29.
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำภูเก็ต สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน จ.ภูเก็ต
-
-
/
-
30.
สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (ทุ่งค่าย) จ.ตรัง
-
-
/
-
31.
สวนสัตว์สงขลา จ.สงขลา
-
-
/
-



แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตต้นแบบ


เมืองโบราณ




สถานที่รวบรวมศิลปะงานช่างของสยามประเทศในยุคสมัยต่างๆ

การรวบรวมงานทางด้านศิลปวัฒนธรรมของเมืองโบราณในฐานะที่เป็นแหล่งเรียนรู้นั้น ทางเมืองโบราณได้มุ่งเน้นถึงงานศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ อันโดดเด่นของยุคสมัยต่างๆ ที่มีความสำคัญ ในฐานะที่เป็นตัวแทนของการเพาะบ่มทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชน บางยุคสมัยก็มีการคาบเกี่ยวกัน ในช่วงมิติของเวลา เพราะชุมชนที่เกิดขึ้นเป็นบ้านเมืองนั้น ไม่ได้รอให้ชุมชนหนึ่ง ที่มีอยู่ก่อนเสื่อมสลายไป แล้วค่อยตั้งอีกชุมชนหนึ่งขึ้น หากว่าแต่ละชุมชนได้มีพัฒนาการความเป็น บ้านเมืองในช่วงที่ไล่เลี่ยกัน แต่อยู่ที่การแสดงออกถึงขีดแห่งความเจริญ ซึ่งมีความต่างกัน ในช่วงเวลาขึ้นอยู่ที่ว่าชุมชน ใดเข้มแข็งกว่า และพัฒนาเร็วกว่าก็จะแสดงความรุ่งเรืองเหนือชุมชนอื่นๆออกมาก่อน แต่เมื่อใดก็ตามที่ชุมชนที่เจริญอยู่เกิด มีความเสื่อมถ้อย ชุมชนที่เริ่มพัฒนา ขึ้นมาก็จะแสดงความรุ่งเรือง ของตนเองออกมาแทนที่ทันที ดังนั้นจึงกล่าวถึงช่วงสมัยต่างๆ ตามความรุ่งเรือง ที่ปรากฏออกมาอย่างเด่นชัดนับเริ่มตั้งแต่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี ล้านนา ล้านช้าง สุโขทัย อู่ทอง อยุธยา ธนบุรี จนกระทั่งถึงรัตนโกสินทร์

 เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตต้นแบบภาคกลางและตะวันออก จัดอยู่ในแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสถานที่(ตามประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้) และจัดอยู่ในแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตประเภทอื่น(ตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ)

องค์ความรู้ของเมืองโบราณ คือ เป็นสถานที่ที่เปรียบดัง บานประตูที่เผยออกให้เห็นถึง มรดกแห่งภูมิปัญญาไทย ด้วยสัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมรูปแบบต่าง ๆ ผสมผสานกับงานวิจิตรศิลป์และประณีตศิลป์ การจัดวางโครงสร้างและสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติที่สอดคล้องและสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ก่อให้เกิดบรรยากาศที่โน้มนำให้ผู้มาเยือนได้รับรู้และเข้าใจถึงความสืบเนื่องของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปะ และขนบธรรมเนียมประเพณีของคนไทยในอดีตตราบจนถึงปัจจุบัน

                         กลุ่มเป้าหมายหลักของเมืองโบราณ คือ บุคคลทั่วไปทุกเพศทุกวัย ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

                         วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับกลุ่มเป้าหมาย คือ มีทั้งการให้ศึกษาตัวตนเองและการบรรยายจากมัคคุเทศน์

รูปแบบ / วิธีการนำเสนอ คือ การจำลองจากสถานที่จริงที่สำคัญๆทั่วประเทศกว่า 116 แห่ง มาไว้บนพื้นที่เดียวกันกว่า 600 ไร่ ด้วยเทคนิคการนำเสนอที่หลากหลาย ทั้งการเดินเที่ยวชมด้วยตนเอง การนำรถยนต์ส่วนบุคคล/รถตู้ เข้าไป การเช่าจักรยาน การนั่งรถราง นั่งเรือ และยังมีมัคคุเทศก์บรรยายเพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาเรียนรู้

                วิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และกลุ่มผู้เรียน คือ กลุ่มเป้าหมายคือ บุคคลทั่วไปทุกเพศทุกวัย ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่สนใจศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปะ และขนบธรรมเนียมประเพณีของคนไทยในอดีตตราบจนถึงปัจจุบัน ที่จะได้เห็นและสัมผัสจากของที่จำลองมาจากของจริง และการอ่านรายละเอียดจากป้ายที่ตั้งกำกับอยู่บริเวณสถานที่จำลองแต่ละแห่ง หรือจะเลือกฟังการบรรยายจากมัคคุเทศก์ก็ได้เช่นกัน ซึ่งจะทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ทางเมืองโบราณได้ตั้งไว้

             สามารถเชื่อมโยงกับการศึกษาตามอัธยาศัยได้ โดยการเปิดให้เยี่ยมชมได้ต่อเนื่อง ทุกเพศทุกวัย ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ และรูปแบบการนำเสนอที่เน้นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากสถานที่ที่จำลองมาจากสถานที่จริง








อ้างอิง   http://www.ancientcity.com/



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น